“ซาลาเปาพิบูล” มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักว่าเป็นซาลาเปาที่อร่อยที่สุดไม่เหมือนใครมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเป็นของตัวเองไม่ว่าจะเป็นแป้ง ไส้เค็มและไส้หวาน กว่าจะเป็นที่รู้จัก “ซาลาเปาพิบูล”นั้น เมืองพิบูลมังสาหารมีซาลาเปาขายอย่างต่อเนื่องกันมายาวนานกว่า 50 ปีแล้ว…เริ่มต้นเมื่อราวปี พ.ศ.2490 ณ ที่เมืองอุบลฯ นายอุ้ยฮ่าว แซ่ตั้ง ที่พบรักกับนางสาวยู แซ่ลี้ อายุ 20 ปี และได้แต่งงานกัน จากนั้นจึงได้พากันย้ายจากเมืองอุบลฯมาทำการค้าขายที่อำเภอพิบูลมังสาหารโดยได้มาเปิดร้านขายกาแฟที่บ้านเลขที่ 139 ถนนหลวงบริเวณท่าเรือตลาดสดเมืองพิบูลฯขณะนั้นเรียกว่าท่ากกแห่ริมแม่น้ำมูลอำเภอพิบูลมังสาหาร(ปัจจุบันคือบริเวณสี่แยกถนนวิพากย์ตัดกับถนนหลวงตรงคอสะพานพิบูลมังสาหารข้ามแม่น้ำมูลไปยังอำเภอโขงเจียมหรือจะเรียกว่าแยกซาลาเปาคนก็จะรู้จักดี) จนกระทั้งมีลูกด้วยกัน 2 คน คือ นางสาวนิภา(ฮุ้ง) แซ่ลี้ และนายสุรพล(ตี๋) ตั้งตระกูล วันหนึ่งลูกๆอยากจะกินซาลาเปาที่เขาทำขายอยู่ใกล้ๆบ้าน คุณแม่ยูจึงได้ทำซาลาเปาให้ลูกๆกินเองโดยได้วิธีการทำมาจากพ่อและแม่คือนายกิมหลี แซ่ลี้ และนางซิ่วอิ่ม แซ่โค้ว ส่วนไส้ซาลาเปาคุณแม่ยูได้คิดขึ้นเอง และเริ่มทำขายเล็กๆน้อยๆให้เพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงได้กินหลายๆคนบอกว่ารสดีมาก ขายหมดก็พอ ทำขายวันต่อวัน โดยคุณแม่ยูได้เดินไปขายตามบ้านเรือน ตามโรงเรียนบ้าง โดยเริ่มต้นขายลูกละ 2 บาท เป็นการเสริมรายได้ไปด้วย และด้วยซาลาเปาที่มีรสดี อร่อยมาก สะอาดเป็นที่ถูกปาก จึงได้บอกต่อกันไปปากต่อปากทำให้ขายดีต้องทำเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ขายในราคาลูกละ 2 บาทมานานพอสมควร จนกระทั้งมีคนทำซาลาเปามากขึ้นและเจ้าอื่นๆก็ขายกันลูกละ 5 บาท คุณแม่ยูจึงได้ปรับราคาขึ้นมาเป็นลูกละ 5 บาทเท่ากับคนอื่นและปัจจุบันก็ยังคงขายราคาในราคาลูกละ 5 บาทเหมือนเดิม

ซาลาเปาของคุณแม่ยูนั้นจะมีความโดดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์มาตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจจุบันก็ยังคงเหมือนเดิมคือ แป้งจะมีความนุ่มแม้จะเย็นแป้งก็ไม่แข็ง เก็บไว้ได้นานเมื่อนำมาอุ่นแล้วแป้งก็ยังนุ่มเหมือนเดิมไม่ยุ่ย ไส้ซาลาเปาจะมี 2 อย่างคือไส้เค็มกับไส้หวาน ไส้เค็มนั้นจะมีหน่อไม้ เนื้อหมู ไข่ต้ม กุนเชียง เห็ดหอม กุ้งแห้ง ทุกอย่างคุณแม่ยูจะเป็นคนเตรียมเองทั้งหมดเริ่มตั้งแต่นำหน่อไม้ไผ่หวานมาถนอมอาหารโดยนำมาบรรจุใส่ปี๊บต้มให้สุกแล้ว นายอุ้ยฮ่าวสามีก็ช่วยบัดกรีปี๊บปิดไว้ไม่ให้อากาศเข้า(เรียกว่าหน่อไม้ปี๊บ)เพื่อที่จะได้มีหน่อไม้ใช้ได้ตลอดแล้วก็จะนำหน่อไม้มาหั่นเป็นลูกเต๋าอย่างสวยงาม เนื้อหมูก็จะสับให้ละเอียด ไข่ต้ม กุนเชียง เห็ดหอม ก็จะหั่นเรียงกันไว้อย่างเป็นระเบียบ กุ้งแห้งก็จะนำมาผ่าครึ่งตัว ส่วนไส้หวานนั้นจะนำถั่วเขียวมากวนใส่กับเปลือกมะพร้าวเผาและน้ำตาลทราย ทุกอย่างทุกขั้นตอนคุณแม่ยูจะเน้นเรื่องความสะอาดมาก ทั้งหมดนี้จึงทำให้ร้านซาลาเปาคุณแม่ยูเป็นร้านซาลาเปาที่เก่าแก่ดั้งเดิมที่ทำให้ซาลาเปาพิบูลเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงมาจนถึงทุกวันนี้
เพื่อเป็นการให้เกียรติและระลึกถึง คุณแม่ยู แซ่ตั้ง จึงขอนำประวัติมากล่าวให้ได้ทราบ
คุณแม่ยู แซ่ตั้ง เกิดเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2470 ที่ จังหวัดพิจิตร เป็นบุตรีของ นายกิมหลี แซ่ลี้ และนางซิ่วอิ่ม แซ่โค้ว ทั้งสองท่านเกิดที่ประเทศจีน มีพี่น้องร่วมกัน 6 คนคือ
1.นายบักฮั้ว แซ่ลี้ 2.นางกิมฮวย แซ่ลี้ 3.นางยู แซ่ตั้ง 4.นางสมใจ อร่ามวัฒนกุล 5.นางกิมลั้ง ตั้งตระกูล 6.นายสิทธิชัย ลือชานิมิตจิต
ต่อมานายกิมหลี แซ่ลี้ และนางซิ่วอิ่ม แซ่โค้ว ได้พาครอบครัวย้ายไปทำมาหากินอยู่ที่จังหวัดมุกดาหารได้ระยะหนึ่งจึงได้พาครอบครัวย้ายมาอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี
-ในปี พ.ศ.2490 คุณแม่ยู แซ่ลี้ ได้สมรสกับนายอุ้ยฮ่าว แซ่ตั้ง จากนั้นท่านก็ได้พากันย้ายจากเมืองอุบลฯมาเปิดร้านขายกาแฟอยู่ที่อำเภอพิบูลมังสาหาร ท่านมีบุตร,บุตรี ด้วยกัน 2 คน คือ 1.นางนิภา(ฮุ้ง) แซ่ลี้ 2.นายสุรพล(ตี๋) ตั้งตระกูล

ต่อมาในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2538 นายอุ้ยฮ่าว แซ่ตั้ง ได้ถึงแก่กรรม คุณแม่ยู ก็ได้ทำซาลาเปาขายเลี้ยงดูลูกหลานมาโดยลำพัง ทำให้ซาลาเปาพิบูลเป็นที่รู้จักมากขึ้น ใครที่มาพิบูลฯก็จะต้องมากินซาลาเปาและชื้อกลับไปเป็นของฝากด้วย

ในปี พ.ศ.2543 คุณแม่ยูได้ป่วยเป็นอัมพฤกษ์ร่างกายด้านซ้ายไม่สามารถขยับเขยื้อนได้แต่ท่านก็ยังได้ดูแลให้ลูกๆได้ทำซาลาเปาขายอย่างมีคุณภาพตลอดมาและท่านก็ยังนั่งบ้างนอนบ้างอยู่หน้าร้านเพื่อพูดคุยทักทายกับลูกค้าที่มาชื้อซาลาเปาอยู่บ้างเป็นบางโอกาส
-จนกระทั้งวันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2562 คุณแม่ยู มีอาการปวดท้องลูกๆจึงได้นำท่านส่งโรงพยาบาล จนถึงวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2562 คุณแม่ยูขอให้ลูกๆพากลับมารักษาตัวที่บ้านและคุณแม่ยูก็ได้อ่อนแรงลงเรื่อยๆและได้ถึงแก่กรรมลงในเวลาประมาณ 02.30 น.วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2562
นับเป็นการสูญเสียบุคคลสำคัญผู้ที่บุกเบิกสร้างซาลาเปาพิบูลให้เป็นที่รู้จักจนมีชื่อเสียงมาจวบจนทุกวันนี้ ขอน้อมคารวะคุณแม่ยู แซ่ตั้ง ผู้เป็นตำนานซาลาเปาพิบูล ด้วยความเคารพยิ่ง ขอให้ดวงวิญญาณของท่านไปสู่สุคติบนสรวงสวรรค์ด้วยเทอญ และคนพิบูลฯจะระลึกถึงท่านตลอดไป

นายอุ้ยฮ่าว แซ่ตั้ง ที่พบรักกับนางสาวยู แซ่ลี้ อายุ 20 ปี และได้แต่งงานกัน จากนั้นจึงได้พากันย้ายจากเมืองอุบลฯมาทำการค้าขายที่อำเภอพิบูลมังสาหารโดยได้มาเปิดร้านขายกาแฟที่บ้านเลขที่ 139 ถนนหลวงบริเวณท่าเรือตลาดสดเมืองพิบูลฯขณะนั้นเรียกว่าท่ากกแห่ริมแม่น้ำมูลอำเภอพิบูลมังสาหาร(ปัจจุบันคือบริเวณสี่แยกถนนวิพากย์ตัดกับถนนหลวงตรงคอสะพานพิบูลมังสาหารข้ามแม่น้ำมูลไปยังอำเภอโขงเจียมหรือจะเรียกว่าแยกซาลาเปาคนก็จะรู้จักดี) ในภาพ คุณแม่ยู แซ่ตั้ง ยืนกอดคอคุณแม่บัวสา จารุตัน
คุณแม่ยู แซ่ตั้ง นั่งทำมะม่วงดอง ที่หน้าร้านกาแฟ
นายอุ้ยฮ่าว แซ่ตั้ง นางยู แซ่ตั้ง เด็กชายสุรพล(ตี๋) ตั้งตระกูล บริเวณท่าเรือตลาดสดเมืองพิบูลฯขณะนั้นเรียกว่าท่ากกแห่ริมแม่น้ำมูลอำเภอพิบูลมังสาหาร เมื่อปีพ.ศ.2510
คุณแม่ยู แซ่ตั้ง ที่แก่งสะพือ
คุณแม่ยู แซ่ตั้ง ที่แก่งสะพือ
คุณแม่ยู แซ่ตั้ง ที่แก่งสะพือ
คุณแม่ยู แซ่ตั้ง ที่แก่งสะพือ
คุณแม่ยู แซ่ตั้ง ที่แก่งสะพือ
คุณแม่ยู แซ่ตั้ง ที่แก่งสะพือ
คุณแม่ยู แซ่ตั้ง ที่ศาลเจ้าพ่อพละงุม
คุณแม่ยู แซ่ตั้ง ที่ศาลเจ้าพ่อพละงุม

คุณแม่ยู แซ่ตั้ง กับน้องสาวนางสมใจ อร่ามวัฒนกุล

คุณแม่ยู แซ่ตั้ง
ร้านขายกาแฟที่บ้านเลขที่ 139 ถนนหลวงบริเวณท่าเรือตลาดสดเมืองพิบูลฯขณะนั้นเรียกว่าท่ากกแห่ริมแม่น้ำมูลอำเภอพิบูลมังสาหาร(ปัจจุบันคือบริเวณสี่แยกถนนวิพากย์ตัดกับถนนหลวงตรงคอสะพานพิบูลมังสาหารข้ามแม่น้ำมูลไปยังอำเภอโขงเจียมหรือจะเรียกว่าแยกซาลาเปาคนก็จะรู้จักดี) ถ่ายเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2562
นางสาวนิภา(ฮุ้ง) แซ่ลี้ นายคเณศ ประมุขกุล ที่ ร้านซาลาเปาคุณแม่ยู แซ่ตั้ง บ้านเลขที่ 139 ถนนหลวงบริเวณท่าเรือตลาดสดเมืองพิบูลฯขณะนั้นเรียกว่าท่ากกแห่ริมแม่น้ำมูลอำเภอพิบูลมังสาหาร(ปัจจุบันคือบริเวณสี่แยกถนนวิพากย์ตัดกับถนนหลวงตรงคอสะพานพิบูลมังสาหารข้ามแม่น้ำมูลไปยังอำเภอโขงเจียมหรือจะเรียกว่าแยกซาลาเปาคนก็จะรู้จักดี) เมื่อ 5 พฤศจิกายน 2562
นางสาวนิภา(ฮุ้ง) แซ่ลี้ นายพิชิต ลือชานิมิตจิต นายคเณศ ประมุขกุล ที่วัดกลาง อ.พิบูลมังสาหารจ.อุบลราชธานี เมื่อ 10 ตุลาคม 2562
ขอน้อมคารวะคุณแม่ยู แซ่ตั้ง ผู้เป็นตำนานซาลาเปาพิบูล ด้วยความเคารพยิ่ง ขอให้ดวงวิญญาณของท่านไปสู่สุคติบนสรวงสวรรค์ด้วยเทอญ และคนพิบูลฯจะระลึกถึงท่านตลอดไป

นางนิภา(ฮุ้ง) แซ่ลี้ ผู้ให้ข้อมูล
นายคเณศ ประมุขกุล ผู้เรียบเรียง
นายนราธิป สาคาวงศ์วัฒนา รวบรวมภาพ
5 พฤศจิกายน 2562